ความ ผูกพันสร้างได้
ถ้าคุณต้องอยู่ห่างไกลจากครอบครัว
ไม่ได้มีโอกาสกลับบ้านพาหลานไปหาปู่ย่าตายายบ่อยนัก และกลัวว่าหลานจะจำท่านไม่ได้ กลัวว่าหลานจะไม่ผูกพันกับท่าน หรือกลัวว่า
หลานจะมองว่าท่านเป็นคนแปลกหน้าและไม่กล้าเข้าใกล้ ไม่ให้อุ้ม ทำให้ปู่ย่าตายายจะเสียใจ
ฉันเคยผ่านความกลัวแบบนั้นมาหมดแล้ว และฉันก็พยายามคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ลูกของฉันคุ้นเคยกับท่าน และฉันก็ทำสำเร็จด้วยวิธีธรรมดาๆที่บางทีเราก็ลืมคิดถึงไป
1.
ย้อนกลับไปเมื่อ
8 ปีที่แล้ว ลูกชายของฉันเกิด
เป็นช่วงที่ระบบการสื่อสารยังไม่ทันสมัยเท่านี้ ไม่มีโทรศัพท์ที่โทรแล้วเห็นหน้ากันได้
สไกป์ก็ยังไม่มี การติดต่อสื่อสารสารของฉันคือมือถือที่ได้ยินแต่เสียงเท่านั้น ดังนั้น
การที่เราจะให้ลูกเราจำญาติพี่น้องของเราให้ได้ จึงต้องใช้เสียงเป็นตัวเชื่อมให้ลูกจดจำได้ ทุกครั้งที่ฉันคุยกับญาติพี่น้อง ฉันจะเปิดลำโพงในมือถือให้เขาได้ยินไปด้วย เมื่อเวลาเจอญาติ เขาก็จะพอจำเสียงได้ค่ะ
2.
ฉันจะให้โทรหาพ่อแม่ของฉันเป็นประจำทุกเสาร์
อาทิตย์ และให้ลูกได้สวัสดี คุย ทักทาย ยิ่งปัจจุบันนี้
สามารถคุยและเห็นหน้ากันได้ ยิ่งทำให้เด็กคุ้นเคยกับญาติพี่น้องได้เร็วขึ้น บางทีคุยกันได้เป็นชั่วโมงโดยที่เด็กก็ไม่เบื่อ ฉันจะให้ลูกฉันเล่นตามปกติ อยากทำอะไรก็ทำ แค่ให้นั่งอยู่ใกล้ๆกับที่ฉันคุย และ
ก็เอามือถือวางไว้ในตำแหน่งที่เขาสามารถเห็นปู่ยาตายาย บางทีเวลาลูกสาวคนเล็กของฉัน 2 ขวบ
เล่นไปเพลินๆ เขาก็จะหันไปชวนปู่ย่าตายายที่อยู่ในมือถือเล่นด้วยค่ะ ทุกอย่างมันเป็นธรรมชาติไม่ต้องสอน
เมื่อเด็กไว้ใจว่าไม่ใช่คนแปลกหน้า
เขาจะอยากพูดคุยด้วย
3.
ทุกครั้งที่เจอญาติพี่น้อง
ฉันไม่เคยลืมนำหลานไปถ่ายรูปคู่กันไว้ ต้องเป็นภาพคู่นะคะ เพราะเด็กจะรู้สึกผูกพันมากกว่าและรับรู้ได้ว่า
คนๆนี้ ไม่ใช่คนแปลกหน้า
4.
ฉันจะนำรูปที่ถ่ายไว้
มาให้ลูกดูเป็นประจำสม่ำเสมอ และบอกด้วยว่า แต่ละคนเป็นใคร และเขารักและคิดถึงเสมอ
5.
พูดถึงญาติพี่น้องให้ลูกฟังเสมอผ่านสิ่งต่างๆ
รอบตัว เช่น " เสื้อตัวนี้อี๊ซื้อให้ใส่แล้วน่ารัก
หุ่นยนต์ตัวนี้อาม่าซื้อให้ เพราะรู้ว่าหนูชอบ "
6.
บอกลูกเสมอว่า
ใครรักเขาบ้าง และห้ามลืมบอกถึงคนที่อยู่ไกลตัวที่เราต้องการให้เขารับรู้ว่า รักเขาด้วย
7.
เวลาสอนลูกว่า
ห้ามไปไหนกับคนแปลกหน้า ต้องอย่าลืมบอกด้วยว่า ญาติๆของเรา เช่น “ อากง อาม่า
อี๊ กู๋ ถึงแม้นานๆ เจอกันที ก็ไม่ใช่คนแปลกหน้านะ ไม่ต้องกลัว
ถ้าเขาชวนไปไหน หนูก็ไปกับเขาได้ ”
8.
บอกลูกด้วยว่าใครเป็นใคร เช่น อากงเป็นพ่อของแม่
อาม่าเป็นแม่ของแม่ ใจดีทั้งสองคนและเลี้ยงแม่มา เหมือนที่แม่เลี้ยงหนูมา
หนูไม่ต้องกลัว เวลาเจอเล่นกันได้ ทุกคนรักหนู
9.
ถ้าครอบครัวของฉันส่งพัสดุมาให้ฉันและลูกๆ
ฉันจะรอเปิดพร้อมกัน และก็จะบอกว่า “ ใครส่งมาให้
มาดูกันสิว่า เขาซื้ออะไรมาฝากบ้าง ” และสอนว่า
" ที่เขาซื้อของ ส่งมาให้เรา เพราะ เขารักเรา รู้ว่าเราชอบอะไร อยากได้อะไรก็ซื้อส่งมาให้ เขาคิดถึงพวกเราตลอดเวลา "
10.
เวลาลูกเล่นของเล่น
หรือใส่เสื้อผ้าที่ญาติพี่น้องเราให้มา เราต้องคอยบอกเขานะคะว่า ใครซื้อให้
และต้องรักษาให้ดี คนที่เขาซื้อให้จะได้ดีใจ
11.
ที่สำคัญที่สุด เมื่อถึงวันที่จะได้ไปเยี่ยมเยียน
อย่าทำอะไรให้ดูแปลกกว่าปกติ ไม่ต้องทำท่าตื่นเต้นเกิน เพราะเด็กจะงงว่าเกิดอะไรขึ้น
และอาจจะทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัย เพียงแค่เราบอกว่า เราจะไปหาใคร และทบทวนความจำเกี่ยวกับคนๆ
นั้นให้ลูกฟัง และอย่าลืมซื้อของฝากติดไม้ติดมือมาฝากญาติด้วย และฉันก็จะบอกลูกว่า
“ เมื่อเขารักเรา ใจดีกับเรา ซื้อของฝากเราเสมอ เมื่อเราไปหา เราก็รักเขาเหมือนกัน
เราก็ต้องซื้อของไปฝากเช่นเดียวกัน
12.
และเมื่อลูกได้เจอให้เวลาปรับตัวเข้าหากันสักนิด
อย่ารีบบังคับให้ไปอยู่ด้วยกัน เราก็อยู่ด้วยก่อนในตอนแรก สักพักหนึ่ง
เด็กจะเริ่มค่อยๆ กล้าที่จะไปหาเอง และถ้าเราจะไปไหน ก็ไปได้ค่ะ แต่ต้องบอกเขาด้วยว่าไปไหน
และเดี๋ยวจะกลับมา ห้ามหนีหายไปนะคะ เพราะมิเช่นนั้น ถ้าเขาหาเราไม่เจอ เขาจะกลัวมากๆและสิ่งที่เราพยายามปลูกฝังมาทั้งหมดเกี่ยวกับญาติที่น่ารักใจดีของเรา
อาจจะถูกลบออกไปจากความจำเลยก็ได้ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่อยู่ห่างไกลจากครอบครัวเหมือนฉัน
ลองนำวิธีของฉันไปใช้ดูนะคะ
รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ ลูกฉัน 2 คน
ฉันใช้วิธีเดียวกัน ทุกวันนี้ สนิทกับอาม่า อากง อี๊ และกู๋ มากๆ คนเป็นแม่อย่างฉันก็มีความสุขค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น