วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เทคนิครีดผ้าให้ง่ายนิดเดียว





เทคนิครีดผ้าให้ง่ายนิดเดียว
            แม่บ้านหลายๆ ท่านที่ต้องทำงานบ้านทุกอย่างเอง ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการรีดผ้าเอง ดิฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องรีดผ้าให้กับเสื้อผ้าของพ่อบ้าน ลูก และของตัวเอง คุณแม่บ้านเคยมีปัญหาของการรีดผ้าที่รีดเท่าไหร่ ก็ไม่ยอมเรียบสักทีบ้างไหมคะ หรือ รีดเสร็จแล้ว ด้านหนึ่งเรียบ แต่อีกด้านกลับยับเหมือนเดิม (มักจะเป็นกับเสื้อผ้าที่เพิ่งซึ้อมาใหม่ และยังไม่เคยผ่านการถูกรีด) ในเบื้องต้นคุณแม่บ้านทั้งหลายก็คงจะรีดผ้าได้ถูกต้องบ้างแล้วนะคะ เราลองมาทบทวนและลองเทคนิคใหม่ๆ ดูบ้างนะคะ
            เทคนิคการรีดผ้า
-          เตารีดของคุณแม่บ้าน เป็นแบบไหน  1) แบบไอน้ำ ข้อดี-เติมน้ำแล้วรีดได้เลย ข้อเสีย-เปลืองน้ำ , ดูแลรักษายาก , ถ้ารีดผ้าไม่แห้ง ทำให้เสื้อผ้าอับชื้นและเหม็นอับ 2) แบบธรรมดา  ข้อดี-ดูแลรักษาง่าย ข้อเสีย-เสียเวลาในการรีดเพราะต้องคอยฉีดน้ำที่เสื้อผ้าก่อนเสมอ   (ส่วนตัวแล้วชอบเตารีดแบบธรรมดาเลยค่ะ รีดได้เรียบกว่า เลือกที่น้ำหนักเบาหน่อย ก็ใช้ได้ค่ะ)
-          แยกเสื้อผ้า ระหว่างเสื้อกับกางเกง เริ่มจากผ้าหนาไปจนถึงผ้าบาง เพื่อประหยัดเวลาและประหยัดค่าไฟฟ้าด้วยค่ะ และการรีดผ้าควรรีดผ้าอย่างต่ำ 10 ตัวขึ้นไป ช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ค่ะ ถ้ารีดน้อยกว่านี้หรือไม่ต่อเนื่อง ปรับไฟของเตารีดขึ้นลงบ่อยๆ ก็ทำให้เปลืองไฟฟ้าได้เช่นกันค่ะ
-          ตั้งโต๊ะเตารีดให้เหมาะกับระดับสำหรับคุณแม่บ้าน หรือระดับที่คุณแม่บ้านถนัด (ถ้าจะให้ดี ไม่อยากเมื่อย ก็ควรหาเก้าอี้กลมๆ มานั่งก็ได้นะคะ แต่ต้องสัมพันธ์กับโต๊ะรีดผ้านะคะ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นปัญหาคือ ปวดหลังมาแทนปวดส้นเท้าค่ะ หรือคุณแม่บ้านอาจจะหาผ้านุ่มๆ รองพื้นบริเวณที่จะรีดก็ได้ค่ะ เพราะนอกจากจะช่วยซับน้ำที่รีดลงบนผ้า กระเด็นตกบนพื้นห้องไม่ให้เหนียวเหนอะหนะแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่บ้านลดอาการปวดส้นเท้าได้ด้วยค่ะ)
-          วิธีการรีดผ้าสำหรับเสื้อผ้าต่างๆ ก็มีดังนี้เลยค่ะ (เริ่มจากผ้าหนากันก่อนนะคะ)
1) กางเกง  ควรรีดจากด้านในก่อนนะคะ เริ่มจากรีดตรงกระเป๋าหน้า กระเป๋าหลัง ของกางเกง และกลับออกด้านนอก เริ่มด้วยการรีดจากกระเป๋าด้านหน้าก่อนนะคะ แล้วค่อยรีดตามลำดัวของกางเกง (หากเป็นกางเกงใหม่ที่ต้องการจีบ ควรฉีดน้ำยาอัดกลีบ (ผสมน้ำด้วยนิดหน่อยลดความข้น ไม่ให้เป็นคราบขาวบริเวณกลีบ) ตรงบริเวณที่จะอัดกลีบก่อนนะคะ แล้วก็รีดตามปกติ ควรจับกลีบไปด้วยคะ เพื่อไม่ให้กลีบแตก หรือ ได้หลายกลีบนั่นเอง)
** หากเป็นกางเกงผ้ามัน ควรรีดผ้าจากด้านในทั้งตัวให้หมดก่อนแล้วค่อยกลับด้านออกด้านนอก เพื่อจัดการรีดให้มีกลีบ เพราะหากรีดเฉพาะด้านนอก กางเกงจะเกิดความมันมากจนเกินไป แต่หากใครชอบที่จะให้เห็นความมันของเนื้อผ้าก็ไม่ว่ากันค่ะ แค่จะบอกว่าเนื้อผ้าจะมีอายุการใช้งานน้อยลง **
2) เสื้อยืด  ยิ่งมีสกรีนติดเยอะๆ ควรกลับด้านในรีดตรงที่มีสกรีนให้เรียบ หรือจะรีดทั้งตัวเลยก็ได้ค่ะ จะช่วยให้สีของเสื้อผ้าหมองช้าลง
3) เสื้อเชิ๊ต ควรรีดจากปก ทั้ง 2 ด้าน (ด้านใน+ด้านนอก) สาบเสื้อ-กระเป๋า ด้านใน และเริ่มรีดเสื้อจากด้านนอกจากตัวเสื้อที่อยู่ด้านนอกก่อน รีดเสื้อผ้าไปจนหมดตัว กลับมารีดตรงแขน รีดตรงลำตัวอีกครั้งแบบไม่ต้องฉีดน้ำยา เพราะตอนที่กลับมารีดตรงแขนอาจจะทำให้ส่วนของลำตัวยับ ต้องกลับมาตรวจสอบกันอีกครั้ง และเมื่อรีดเสร็จแล้ว อย่าลืม ติดกระดุมเม็ดแรก หรือเม็ดที่สองไว้ด้วย ก่อนจะเก็บเข้าตู้ เพราะจะทำให้เสื้อความเรียบของเสื้อเชิ๊ตยังคงรูปค่ะ
4) ชุดแซก ต้องแยกเป็นเนื้อผ้าไปนะคะ เพราะบางชุดอาจจะทำมาจากเนื้อผ้าที่มีความไวต่อความร้อน หรือ ประดับด้วยการติดกาว ก็ต้องใช้เตารีดไอน้ำเข้าช่วยละคะถึงจะเรียบ (ชุดของดิฉันเป็นเนื้อผ้าชีฟอง ติดด้วยกระดุมแบบเหล็กทั้งตัว ไม่สามารถรีดกับเตารีดธรรมดาได้ หรือจะรีดจากด้านในก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้กาวด้านในละลาย กระดุมหลุดออกได้ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เตารีดไอน้ำแทนค่ะ)
5) กระโปรง หรือ กระโปรงที่มีจีบเยอะ ควรใช้น้ำยาอัดกลีบ ควรใช้มือจับจีบตามไปด้วยขณะรีด เพื่อไม่จีบแตก ควรรีดทั้งด้านในและด้านนอกนะคะ
** การรีดผ้าให้เรียบไม่ใช่เรื่องยากค่ะ แค่ใส่ใจตอนตากด้วยการสะบัดหน่อยก่อนตาก และใช้น้ำยาและเตารีดให้เหมาะสมกับเนื้อผ้า แค่นี้ก็ทำให้คุณแม่บ้านไม่เบื่อในการรีดผ้าแล้วละคะ **








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น