รับมืออย่างไร เมื่อโรคร้ายมาเยือนคนในครอบครัว (ตอนที่ 2)
การดูแลผู้ป่วยเป็นงานที่ต้องการ
การเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นอย่างมาก เพราะต้องดูแลทั้งร่างกายและสภาพจิตใจ
ร่างกายคนป่วยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจากผลการรักษาหรือจากโรคมะเร็งเอง ในด้านสภาพจิตใจนั้นคนป่วยอาจจะมีอารมณ์ปรวนแปร
หงุดหงิดง่าย อาจท้อ ไม่อยากสู้กับโรคร้ายถ้าเป็นมาก
คนป่วยจึงต้องเรียนรู้ที่จะสู้และอยู่กับโรคร้ายไปพร้อมๆกัน
เริ่มต้นการรักษา
เมื่อแพทย์ผู้ทำการรักษา ตรวจเจอเนื้อร้ายแล้ว
ส่วนใหญ่จะเริ่มที่การผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออกไปก่อน
แต่ถ้าผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยสูงอายุ แพทย์อาจจะไม่ได้ทำการผ่าตัดให้
ต้องรักษาไปตามอาการก่อน จนกว่าร่างกายจะแข็งแรงพร้อมที่จะรับการผ่าตัด
หรือถ้าร่างกายอ่อนแอมาก ก็จะไม่แนะนำให้ผ่าตัด หลังจากนั้นจะมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง ได้แก่ ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์
และแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง จะเป็นผู้ทำการรักษา
เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งในระยะใด แพทย์จะแจ้งแก่ญาติและผู้ป่วยว่าจะทำการรักษาด้วยวิธีใดจึงจะเหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย
หลังจากนั้นจะเริ่มให้ยาเคมีบำบัดหรือยาต้านมะเร็ง นอกจากนี้
ผู้ป่วยโรคมะเร็งอาจจะมีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน แพทย์ที่ทำการรักษาจึงต้องมีความชำนาญอย่างมากในการให้ยาเคมีบำบัด
เพราะอาจจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงกับสภาพร่างกายของคนป่วย
การดูแลผู้ป่วย
หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแล้ว
อาจจะต้องนอนให้ยาทางสายน้ำเกลือหรือฉีดยาเข้าเส้นโดยตรง ซึ่งในเคสของผู้เขียนขอพูดถึงยาฉีดเท่านั้นจากประสบการณ์ ไม่รวมถึงการฉายรังสี ซึ่งอันนี้แล้วแต่สภาพร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งยาเคมีบำบัดจะค่อนข้างแรง เวลาให้ยา
พยาบาลผู้ฉีดยาให้จะต้องอยู่ในห้องปลอดเชื้อผสมยา เวลาให้ยากับผู้ป่วย และจะแนะนำให้ผู้ป่วยอมน้ำแข็งไว้ด้วยขณะฉีดยา
( ในเคสของคุณพ่อผู้เขียน ) เพราะปากจะแห้ง และอาจจะมีแผลในปาก หลังจากให้ยาเคมีบำบัดแล้ว
อาจจะมีอาการอ่อนเพลีย ผมร่วง
ผิวคล้ำ ไม่อยากอาหาร อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งอาการเหล่านี้
ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน ที่เห็นชัดๆเลยจะมีอาการอ่อนเพลียมาก
อยากจะนอนทั้งวัน ร่างกายอ่อนแรง
ดังนั้น ช่วงนี้ผู้ดูแลผู้ป่วยควรต้องหาอาหารเพื่อมาเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายผู้ป่วย
ให้ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรงเร็วขึ้น ถ้าเป็นแพทย์สมัยใหม่มักจะไม่ห้ามอะไรเลย
ให้ทานได้หมด แต่สำหรับผู้เขียนเอง และโดยเฉพาะตัวคุณพ่อ ที่เป็นผู้ป่วยเอง มีกำลังใจที่ดีและเข้มแข็งมาก
อาจจะมากกว่าลูกๆที่ดูแลเสียอีก เพราะคุณพ่อบอกว่า จะสู้กับโรคมะเร็งให้ได้
ไม่กลัวหรอกโรคมะเร็ง อันนี้คิดว่า เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของผู้ป่วยที่ต้องการจะรักษาตัวให้พ้นจากโรคมะเร็ง
ต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเอง ก้าวข้ามผ่านความกลัวไปให้ได้ก่อน
ซึ่งตัวคุณพ่อเองท่านได้ศึกษาหาข้อมูลด้วยตัวเอง
และหาแนวทางเพื่อรักษาโดยเน้นธรรมชาติบำบัดควบคู่กับการรักษาทางเคมีบำบัดด้วย
โดยเลือกที่จะรับประทานอาหารแบบชีวจิต คือ
เน้นอาหารที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ไม่ต้องปรุงแต่งมาก
ด้านอาหาร ทางชีวจิต เป็นประเภทผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ เนื้อสัตว์ก็จะเป็นแค่ปลาเท่านั้น
และพวกธัญพืช ขอแนะนำเป็นข้อๆดังนี้ค่ะ
1
ผักและผลไม้ ขอให้สะอาดและปลอดสารพิษให้มากที่สุด
เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี
แครอท ฟักทอง กล้วยน้ำว้า ส้ม มะละกอ แอปเปิ้ล
ซึ่งเราสามารถนำทั้งผักและผลไม้มาคั้นสดๆ ให้ผู้ป่วยทานภายในครึ่งชั่วโมงจะได้ประโยชน์มากที่สุด
จะได้รับวิตามินและสารอาหารสูงสุด เพราะหากทิ้งไว้นานเอนไซม์ก็จะสลายตัวได้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเอนไซม์คืออะไร
ผู้เขียนถือโอกาสหาข้อมูลทางวิชาการสักเล็กน้อยมาประกอบเพื่อประโยชน์ของท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า
ทำไมจึงแนะนำให้ดื่มน้ำผักผลไม้ที่คั้นสดๆ เอนไซม์ที่ว่านี้มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต
มีหน้าที่กระตุ้นหรือเริ่มต้น ให้ระบบต่างๆของชีวิตทำงาน เพื่อจุดประสงค์ 2
ประการคือ
-
ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิต
หรือถ้าหากอันตรายเกิดขึ้นแล้ว ก็ป้องกันไม่ให้อันตรายนั้นลุกลามไปเร็วขึ้น
-
ฟื้นฟูให้ระบบต่างๆของชีวิต ทำงานได้ดีขึ้น
2
ข้าว
จำพวก ข้าวกล้อง ข้าวบาเล่ย์ ข้าวสาลี ลูกเดือย จะนำมาทำเป็นข้าวต้ม หรือจะนำมาหุงข้าวก็ได้
หรืออาจจะเอาน้ำข้าวกล้องมารับประทานใส่เกลือลงไปนิดหน่อยก็ได้ ถ้ารับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาวเลยจะดีมากค่ะ
3
เนื้อสัตว์ แนะนำเป็นปลา ดูให้สดและสะอาดปลอดสารพิษ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์หมู ไก่ เนื้อวัว อาจจะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเร็งให้เติบโตเร็วยิ่งขึ้น
4
การปรุงอาหาร ควรจะรับประทานรสอ่อนๆ ไม่จัด
5
งดของหมักของดอง ของมึนเมา
By P.Saruda
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น