คู่มือการเลี้ยงลูกฉบับคุณแม่ยุคใหม่
พ่อ แม่ สมัยใหม่
มักมีความเข้าใจว่าการส่งลูกเข้าโรงเรียนตั้งแต่อายุยังน้อยเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับลูกที่พึงกระทำ
หรือบางครอบครัวอาจจะไม่มีเวลาได้ดูแลลูกรักด้วยตัวเอง
สาเหตุเพราะทั้งคุณพ่อและคุณแม่ต่างมีงานที่ต้องทำ หรืออาจจะเพราะสาเหตุอื่นๆก็ดี ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างมาก
เพราะทั้งคุณพ่อและคุณแม่จะไม่มีทางรู้เลยว่าลูกรักของคุณเขาต้องการอะไร? พัฒนาการของเขาไปถึงขั้นไหน?
เขาพร้อมหรือยังที่จะก้าวเข้าสู่สังคมส่วนรวม เมื่อไม่ได้อยู่กับบุคคลในครอบครัว?
จากประสบการณ์ที่ดิฉันเคยเป็นครูปฐมวัยมาก่อน
ทำให้ดิฉันตระหนักดีว่า เด็กแต่ละคนได้รับการเลี้ยงดูมาแบบต่างกัน บางครอบครัวให้ความรักและการเอาใจใส่ลูกรักเป็นอย่างดี
บางครอบครัวก็เลี้ยงแบบปล่อยปะละเลย ซึ่งการเลี้ยงดูในแบบต่างๆส่งผลถึงพฤติกรรมของเด็กในรูปแบบที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูในแบบที่คุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่ และดูแลอย่างใกล้ชิด
เขาจะมีทั้งIQ และ
EQ
ที่เหมาะสมกับวัยของเขา เช่น การที่เขารู้จักช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน
รู้จักการนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ มีความร่าเริงแจ่มใสสมวัยนั้น
เป็นผลที่ได้จากการฝึกสอนให้เด็กมี EQ
จากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของพัฒนาการสำหรับลูกรักที่เหมาะสมตามวัย ส่วนทางด้านIQ
คุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้ลูกรักมีพัฒนาการด้าน IQ เป็นอย่างมาก เช่น
1. การเล่นจั๊กจี้กับลูกรักโดยการเล่นปูไต่
จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการคาดเดาเหตุการณ์
ว่าถ้าพ่อแม่เล่นอย่างนี้จะเกิดเหตุการณ์อย่างไร ปูจะไต่จากไหนไปถึงไหน
และยังเป็นการช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของลูกรักอีกด้วย?
2. การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
ซึ่งการอ่านหนังสือจะสามารถช่วยในเรื่องของการเรียนรู้ภาษาได้จริงๆ
เด็กจะสามารถจดจำการเรียงลำดับคำจากประโยคที่คุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟังซ้ำๆ 2-3 ครั้งได้ และเด็กจะสามารถหัดพูดตามคำสุดท้ายของประโยค
เป็นการฝึกเริ่มต้นสำหรับเด็กที่อยู่ในวัยหัดพูดได้เป็นอย่างดี
3. ให้ลูกผ่อนคลายได้อยู่กับตัวเองบ้าง
ให้เวลาประมาณ 5-10
นาที ปล่อยให้ลูกน้อยนั่งสบายๆ เงียบๆอยู่บนพื้นบ้าน
เพื่อให้ลูกน้อยได้ลองสำรวจสิ่งต่างๆตามใจชอบโดยไม่ต้องเข้าไปยุ่งกับลูกเลย
รอจนกว่าลูกน้อยจะคลานมาขอเล่นกับคุณพ่อคุณแม่อีกครั้ง
นี่เป็นการฝึกความเป็นตัวของตัวเองให้กับลูกในขั้นแรก อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้ลูกรัก
ได้เรียนรู้กับการสังเกตสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
เป็นการกระตุ้นให้ลูกรักเกิดความอยากรู้
และค้นหาตำตอบในสิ่งที่เขาอยากรู้ได้ด้วยตัวเอง
4. สร้างอุปสรรค์เล็กๆน้อยๆให้กับลูก โดยการวางหมอน
หรือตุ๊กตาไว้ตามพื้น แล้วสังเกตพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางของลูกน้อย
ว่าเขามีวิธีผ่านสิ่งเหล่านั้นมาได้อย่างไร ?
อาจจะผ่านมาได้ด้วยการข้าม การอ้อม การลอด
ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้อยได้เรียนรู้กับวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
5. ปล่อยให้ลูกน้อยได้ทดลอง อย่าเพิ่งดุ เช่น
หากลูกน้อยขว้างของเล่น พฤติกรรมนี้เกิดจากการที่ลูกน้อยอยากรู้ว่า ทุกครั้งที่ขว้างของเล่นออกไป
มันจะตกลงสู่พื้นทุกครั้งหรือไม่ หรือ
การปล่อยให้ลูกน้อยลองลงจากบันได 1 ขั้น เพื่อให้เขาได้เรียนรู้วิธีลงด้วยตัวเองว่า
ลงแบบไหนเขาจะปลอดภัยที่สุด
และยังมีอีกหลายวิธีสำหรับการเตรียมความพร้อมทางด้าน
IQ ให้กับลูกรัก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเตรียมพร้อมด้าน IQ ก็ต้องควบคู่ไปพร้อมกับด้าน EQด้วย เพราะถ้าลูกรัก มีแต่พัฒนาการด้านIQ อย่างเดียว แน่นอนว่าเขาจะต้องเป็นเด็กฉลาด
แต่ด้อยทางด้านจิตใจและอารมณ์
ซึ่งจะส่งผลให้พัฒนาการทางด้านสังคมของลูกรักมีปัญหาตามมาอีกด้วย
เมื่อถึงเวลาที่ลูกรักจะต้องก้าวเข้าสู่สังคมส่วนรวมในโรงเรียน
เด็กก็มักจะมีพฤติกรรมที่เรียกว่า “ เอาแต่ใจ ” พฤติกรรมอย่างนี้ เป็นปัญหาทั้งต่อตัวเด็กเอง
หรือแม้กระทั่งบุคคลรอบตัวเด็ก เพราะการเลี้ยงดูลูกรักด้วยการให้ทุกอย่างที่เด็กต้องการไม่ใช่วิธีการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง
หากแต่เป็นการสอนให้เด็กอยากได้โดยไม่รู้จักพอประมาณ การตอบสนองแบบทันท่วงทีที่เด็ก
เรียกร้องเป็นการฝึกให้ลูกรักไม่ได้เรียนรู้จักเวลา และการรอคอยอย่างที่ควร ซึ่งปัญหาเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ปัญหาได้
ในครั้งหน้า เราจะมาพูดถึงวิธีการเสริมสร้าง EQ ให้กับลูกรักกันค่ะ สำหรับฉบับนี้
คงต้องลากันไปก่อนพบกันใหม่ครั้งหน้านะคะ สวัสดีค่ะ
รวีวรรณ
เกตุสุทธิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น